เปิดมิติใหม่ กลไกชุมชนเข้มแข็ง กับ กระบวนการดูแลผู้มีปัญหาสุรารูปแบบเชิงพุทธ เป็นการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย สร้างทางเลือกในการช่วยนักดื่ม ที่มีกว่า 3 ล้านคนให้ลด ละ เลิก การดื่มสุรา
โครงการการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดมิติใหม่ สร้างทางเลือกในการช่วยนักดื่มที่มีกว่า 3 ล้านคนให้ลด ละ เลิก การดื่มสุรา ผนึกพลังชุมชน ดึงศักยภาพ พระสงฆ์ บุคลากรสุขภาพ และผู้นำชุมชนหรือ อสม. สร้างการมีส่วนร่วมกับคนในครอบครัวและคนในชุมชน พาคนติดสุราเข้าถึงระบบบริการบำบัดดูแลที่เหมาะสมตรงความต้องการ สอดคล้องบริบทวิถีชีวิตและวัฒนธรรม พร้อมพัฒนาทักษะอาชีพ คุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงทางอาหาร เสริมการดูแลที่เข้าใจ ชุมชนให้โอกาส จนเกิดแรงจูงใจพร้อมพัฒนาเป็นคนใหม่
โครงการการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราที่เข้าไม่ถึงระบบบริการบำบัดรักษาที่เหมาะสม จึงนำเสนอทางเลือกใหม่ในการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราด้วยกระบวนการ “เชิงพุทธ” ซึ่งผ่านการวิจัยและพัฒนาตามหลักวิชาการ โดยภาคีเครือข่ายทั้งในระบบสุขภาพและนอกระบบสุขภาพเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก การดื่มสุราในที่สุด
สำหรับกระบวนการดูแลผู้มีปัญหาสุราเชิงพุทธ มีการขับเคลื่อนโดยกลไกคณะทำงานร่วมในชุมชน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย พระสงฆ์ บุคลากรสุขภาพ และ ผู้นำชุมชนหรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในชุมชน สำหรับรูปแบบการ “เลิกสุราเชิงพุทธ” ตามโปรแกรม 7 วัน 6 คืน โดยสร้างการมีส่วนร่วม ในมิติ “เรื่องเหล้า ในมิติของหน้าหมู่” มีกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจผลกระทบจากสุราต่อสุขภาพและสังคมโดยบุคลากรสุขภาพ กระบวนการสร้างสติปัญญา การสงบทบทวนตนเองโดยใช้หลักธรรม สนับสนุนให้เกิดการสื่อสาร การมีสัมพันธภาพอันดี ความเข้าใจกันในครอบครัว มีกำลังใจ ได้รับโอกาส ได้รับการดูแล จากผู้นำชุมชนและอสม.ที่มาคอยอำนวยความสะดวก ให้กำลังใจ ในระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมและการติดตามผล พร้อมกับจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ หรือ สร้างความมั่นคงในชีวิต ออกแบบโดยกลุ่มผู้มีปัญหาการดื่มสุราและกลไกคณะทำงานในพื้นที่
พื้นที่ต้นแบบ “กระบวนการดูแลผู้มีปัญหาสุรารูปแบบเชิงพุทธ” ในภาคเหนือ เช่น วัดน้ำโซ้ง จ.น่าน วัดคลองกระจง จ.สุโขทัย และ วัดเกาะตาเถียร จ.ตาก ส่วนพื้นที่ต้นแบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น วัดบ้านใหญ่ และ วัดใหม่สามัคคีธรรม จ.นครราชสีมา วัดโพธิ์ชัย และ วัดค้อธิ จ.มหาสารคาม วัดไพรจิกวราราม และ วัดสว่างอารมณ์ จ.สุรินทร์ และ วัดป่าก้าว จ.อุบลราชธานี เป็นต้น
ในขณะที่ผลของการดำเนินโครงการฯ พบว่า กระบวนการเชิงพุทธ ได้กระตุ้นให้ชุมชนร่วมสร้างพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาสุราและองค์ความรู้ในการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราตามหลักวิชาการ มีความพร้อมในการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาการดื่มสุรา ตลอดจนเป็นทางเลือกหนึ่ง ให้ผู้มีปัญหาการดื่มสุรา ญาติ ครอบครัว ชุมชน บุคลากรในระบบสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมสนับสนุน และผลักดันให้ผู้มีปัญหาการดื่มสุราเข้าถึงระบบบริการที่เหมาะสมกับความต้องการ และบริบทวิถีชีวิต วัฒนธรรมของผู้มีปัญหาการดื่มสุราในพื้นที่
ทั้งนี้โครงการดังกล่าว เกิดจาก สสส. และภาคีเครือข่าย ตระหนักถึงแนวโน้มผู้มีปัญหาสุรา ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ประเทศไทย มี 15.9 ล้านคนที่ดื่มสุรา กว่า 3 ล้านคนมีรูปแบบการดื่มในลักษณะติดสุรา และมีเพียง 1.68 แสนคนเท่านั้นที่เข้าถึงระบบบริการบำบัดรักษา ทั้งในระบบสุขภาพ และนอกระบบสุขภาพ ทาง สสส.และภาคีเครือข่าย จึงเตรียมขยายผลพื้นที่ต้นแบบไปยังพื้นที่อื่นต่อไป เพื่อเป็นการยืนยันว่า ชุมชนมีศักยภาพและความพร้อมในการดูแลผู้มีปัญหาสุรา หากได้รับการพัฒนาศักยภาพและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสม ด้วยการสร้างกลไกคณะทำงานที่มีความหลากหลาย เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน บุคลากรที่เข้ามาร่วมโครงการมีความรู้ ทักษะ มีความตั้งใจ และ ทำงานเป็นทีม และมีรูปแบบกระบวนการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราที่เป็นระบบชัดเจนทั้งในด้านปฏิบัติการดูแลและการติดตามผล ย่อมสามารถดูแลผู้มีปัญหาสุราปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก การดื่มสุราได้ในที่สุด
"มีส่วนร่วม" - Google News
August 13, 2020 at 05:57PM
https://ift.tt/2DZH6XT
เปิดมิติใหม่ กลไกชุมชนเข้มแข็ง กับ กระบวนการดูแลผู้มีปัญหาสุรารูปแบบเชิงพุทธ - ผู้จัดการออนไลน์
"มีส่วนร่วม" - Google News
https://ift.tt/3eCA8Vu
No comments:
Post a Comment