Pages

Sunday, July 26, 2020

'ธนาธร' ลั่นหมดเวลาสำหรับการเมืองผูกขาด ชี้ต้องปลดล็อกกฎหมาย-ปชช.มีส่วนร่วม - ประชาไท

biasaajadongkeles.blogspot.com

'คณะก้าวหน้า' ร่วมเวที กมธ.พัฒนาการเมืองฯ 'ธนาธร' ลั่นหมดเวลาสำหรับการเมืองผูกขาด ชี้ต้องปลดล็อกกฎหมาย - ปชช.มีส่วนร่วม 'ชำนาญ' ปลุกทวงอำนาจคืนกลับท้องถิ่น


ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า

ทีมสื่อคณะก้าวหน้า รายงานว่าเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2563 ที่ห้องหยาดเพชร โรงแรมเรือนแพ รอยัลปาร์ค จังหวัดพิษณุโลก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การพัฒนาการเมืองภาคประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น" โดยมีประเด็นสำคัญคือเรื่องปัญหาและทางออกของการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นเวทีที่จัดขึ้นโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร โดยมี ผศ.ชาญณวุฒ ไชยรักษา นักวิชาการด้านการปกครองท้องถิ่น ร่วมเป็นวิทยากร ขณะที่ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายธนาธร กล่าวว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 103 แห่งในจังหวัดพิษณุโลก หากเอารายได้มารวมกันจะมีงบประมาณ 7,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยถ้าเอาเงินตรงนี้มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งอำนาจที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของงบประมาณ ทุกคนตื่นมาก็ต้องจ่ายค่าภาษี ได้เงินเดือนมาก็เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในชีวิตประจำวันเราล้วนมีค่าภาษีทั้งสิ้น แต่ภาษีทั้งหมดถูกบริหารโดยรัฐส่วนกลาง ซึ่งโครงสร้างที่ผ่านมา ส.ส.ต่างก็เข้าไปของบประมาณเพื่อมาพัฒนาในพื้นที่ของตน ต่อรองเอางบประมาณมาสร้างผลงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้เห็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างที่บิดเบี้ยว เพราะ ส.ส. มีหน้าที่ในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติในการร่วมออกกฎหมายขึ้นมา ซึ่งไม่มีอำนาจหรือกฎหมายข้อไหนที่ ส.ส.จะมีอำนาจในการจัดการงบประมาณ หากแต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารในหน่วยยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้นๆ

นายธนาธร กล่าวอีกว่า ในรอบ 4 ปี หากไม่มีการรัฐประหาร ในฐานะประชาชนคนไทยเราจะมีสิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้งได้ 5 ครั้ง นั่นคือ เลือกตั้งระดับประเทศ, เลือกนายก อบจ., เลือกสภาจังหวัด, เลือกนายก อปท. และเลือกสภา อปท. แต่ละระดับการบริหารมีเกียรติมีศักดิ์ศรีเท่ากัน เพราะเป็นอาชีพที่ได้รับการเลือกจากประชาขน แต่แบ่งงานกันทำตามภาระหน้าที่ แต่สิ่งผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ถูกบิดเบือนไป กลุ่มอภิสิทธิ์ชนเขาไม่ต้องการเห็นประชาชนเข้มแข็ง ไม่ต้องการเห็นท้องถิ่นเข้มแข็ง เขาต้องการทำให้ประชาชนไม่ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง งบประมาณจึงถูกเก็บไว้ที่ส่วนกลาง นี่ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่นี่คือความจงใจของกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ที่จงใจเอาประชาชนออกจากสมการทางการเมือง เอาประชาชนออกจากอำนาจอธิปไตย ซึ่งการปลดปล่อยศักยภาพของประเทศไทย คือการคืนอำนาจในการจัดสรรงบประมาณลงสู่ท้องถิ่น ยุติรัฐราชการรวมศูนย์

"การยุติรัฐราชการรวมศูนย์ คืนอำนาจกลับสู่ท้องถิ่น เราต้องทำจากบนลงล่างและล่างขึ้นบนไปพร้อมๆกัน ซึ่งความหมายจากบนลงล่างนั้น จำเป็นที่จะต้องปลดล็อก เอาอำนาจ งบประมาณ และความเป็นอิสระ คืนสู่ท้องถิ่น ซึ่งตรงนี้ท้องถิ่นทำเองไม่ได้ ต้องอาศัยสภาผู้แทนราษฎรและคนที่หนักแน่นที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นจริงๆ ต้องแก้ไขกฎหมายตามกระทรวง กรมต่างๆ ต้องแก้การเมืองระดับชาติรวมถึงต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักของการกระจายอำนาจแต่ในขณะเดียวกัน จากล่างขึ้นบนคือต้องเริ่มที่ท้องถิ่นด้วย เราต้องสร้างการเมืองท้องถิ่นที่ดี เพราะการเมืองท้องถิ่นหลายที่ถูกครอบงำด้วยบ้านใหญ่ และทำให้เราอาจเคยได้ยินวลีที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก นั่นเพราะเราไม่เข้าไปยุ่งกับการเมือง ถึงทำให้อำนาจทางการเมืองถูกผูกขาด การเมืองคือเรื่องของ 7,600 ล้านที่เป็นงบประมาณของ อปท. พิษณุโลก ถ้าคุณไม่ยุ่งกับการเมือง คือการอนุญาตให้คนต่างๆ เหล่านั้นเอาเงินซึ่งเป็นภาษีของเราไปใช้ตามใจชอบ ไม่ต้องถามว่าทำไมถนนหน้าบ้านไม่ดีขึ้น ไม่ต้องถามว่าทำไมโรงเรียนของลูกเราไม่ดีขึ้น ไม่ต้องทำว่าทำไมเราไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เพราะคุณไม่สนใจการเมือง การเมืองเป็นเรื่องสร้างสรรค์ ที่จะทำให้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะมาเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถิ่น แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการกระจายอำนาจ และประชาชนต้องสนใจการเมืองท้องถิ่น และกลับมาเชื่อมั่นว่าการเมืองคือเรื่องสร้างสรร การเมืองคือเรื่องของอนาคตของลูกหลานของเรา” นายธนาธร กล่าว

ด้าน นายชำนาญ กล่าวว่า คำว่ากระจายอำนาจ แท้จริงแล้วต้องใช้คำว่าคืนอำนาจ เนื่องจากอำนาจแต่เดิมนั้นท้องถิ่นมีอยู่แล้ว แต่ถูกดึงกลับเข้าไปส่วนกลาง ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมี นิติบุคล ต้องมีงบประมาณเป็นของตัวเอง ต้องมีผู้บริหารเป็นของตัวเอง ต้องมีสภาท้องถิ่งที่มาจากการเลือกตั้ง ทุกสิ่งนี้เป็นส่วนประกอบของการปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้เรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นน้อยมาก หลายๆ คนไม่รู้ว่า อบต. อบจ. ทำหน้าที่อะไรบ้าง นั่นเพราะถูกรวบอำนาจไปไว้ที่ส่วนกลาง นอกจากนี้ปัญหารัฐส่วนกลางกับท้องถิ่นนั้น รัฐธรรมนูญมาตราเขียนไว้ชัดเจนว่าเป็นการกำกับดูแล ซึ่งไม่ใช่บังคับสั่งการ แต่การที่ภาษีถูกเก็บไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้ อปท. กลายเป็นหน่วยงานที่รับงบประมาณแต่ไม่สามารถพัฒนาอะไรได้ ทุกครั้งที่เกิดการรัฐประหารเมื่อไร อปท.สะดุดเมื่อนั้น เพราะจะเกิดการแต่งตั้งมากกว่าเลือตั้ง ซึ่งความสำคัญของท้องถิ่นนั้นมีบทบาทมากในชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน ไม่มีประเทศไหนในโลก ที่มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งแล้วการปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เข้มแข็ง เราเกิดมาอยู่กับท้องถิ่น แต่มีความรู้เรื่องท้องถิ่นน้อยมาก หลายๆ คนเกิดมายังไม่เคยเลือกตั้งท้องถิ่นเลยสักครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของกิจกรรม ได้มีการแบ่งกลุ่ม workshop สัมมนาในรูปแบบการแบ่งกลุ่มภาคปฎิบัติ 10 กลุ่ม ของประชาชนที่มาร่วมรับฟัง โดยมีวิทยากรในงานคอยให้คำปรึกษา รวมถึงมีการนำเสนอผลงาน ที่จะนำไปต่อยอดนโยบายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไปอีกด้วย ขณะที่ในช่วงเวลา 17.00 น. นายธนาธร พร้อมทีมงานคณะก้าวหน้าจะเดินทางไปยังตลาดวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อปราศรัยเปิดตัวทีมผู้สมัคร อบจ.คณะก้าวหน้าจังหวัดพิษณุโลก

Let's block ads! (Why?)



"มีส่วนร่วม" - Google News
July 26, 2020 at 10:11PM
https://ift.tt/2D5JoUM

'ธนาธร' ลั่นหมดเวลาสำหรับการเมืองผูกขาด ชี้ต้องปลดล็อกกฎหมาย-ปชช.มีส่วนร่วม - ประชาไท
"มีส่วนร่วม" - Google News
https://ift.tt/3eCA8Vu

No comments:

Post a Comment