Pages

Saturday, July 18, 2020

'นิกร'โวย กมธ.ร่างข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ตัดอำนาจส.ส. เข้าชื่อเสนอร่างกม.ปฏิรูป - สยามรัฐ

biasaajadongkeles.blogspot.com

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.63 ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณี ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯได้พิจารณาเสร็จแล้ว และเตรียมนำเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้

ว่า เนื้อหาตามร่างดังกล่าวมีเนื้อหาที่มีปัญหาทั้งหลักการและเหตุผลในส่วนที่ 1 การเสนอและการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ ในร่างข้อ บังคับการประชุมข้อ105 ที่กำหนดให้การเสนอกฏหมายปฏิรูปทำได้เฉพาะคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น

นอกจากนี้ยังเขียนผูกเอาไว้ในข้อ 108 ยกเว้นในการนำร่างกฏหมายมารวมพิจารณาด้วย ซึ่งหลักการนี้อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นจำกัดอำนาจของส.ส.ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติผู้เป็นตัวแทนของประชาชนในการเสนอกฏหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 133 และที่สำคัญในกรณีนี้ยังให้พิจารณาโดยรัฐสภาอยู่แล้ว ซึ่งตามปกติของการพิจารณากฎหมายทั่วไป ต้องพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสามวาระ ก่อนเสนอให้วุฒิสภาในฐานะผู้กลั่นกรองกฎหมายพิจารณาต่อ

แต่ในหมวดปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญมีการอ้างถึงเหตุผลถึงการเร่งรัดการพิจารณากฎหมาย จึงทำให้การออกกฏหมายที่ต้องทำ 2 สภา เหลือแค่รัฐสภาเพียงส่วนเดียว ถือเป็นการลดทอนอำนาจของตัวแทนประชาชนโดยตรงที่ส.ส.ต้องจำใจยอมรับ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้แบบนี้

ตนคิดว่าเรื่องนี้ สภาผู้แทนราษฎร แม้ไม่ได้เป็นต้นทาง แต่ก็สมควรมีส่วนร่วมในการยื่นร่างกฏหมายปฏิรูปในนามพรรคการเมืองหรือในนามส.ส. ที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกันประกบ เพื่อเข้าไปร่วมพิจารณาได้ เพราะขณะนี้กฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่ถูกกำหนดเป็นรายการในการปฏิรูปมีถึง 240 กว่าฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายเล็กกฎหมายน้อยเต็มไปหมด บางฉบับก็เล็กน้อยเกินไป เช่น กฎหมายว่าด้วยตำรวจศาล เป็นต้น หรือบางฉบับก็ใหญ่เกินไปที่จะพิจารณาโดยรัฐสภาตามลำพังได้ เช่น กฎหมายเกี่ยวว่าเกี่ยวกับยาเสพติดที่ต้องฟังความเห็นอย่างรอบด้าน

ดังนั้น ส่วนตัวจึงเห็นว่า ควรตัดคำว่า คณะรัฐมนตรี ตามร่างข้อ105 ออกไปเพื่อเปิดช่องให้ส.ส.มีส่วนร่วม แม้การยื่นร่างกฏหมายปฏิรูปจะยุ่งยากกว่ากฏหมายปกติที่ต้องใช้ส.ส.เข้าชื่อสนับสนุนขอให้กรรมการที่ตั้งขึ้นพิจารณา 1 ใน 3 ของสมาชิกอีกด้วย

นอกจากนี้ ข้อยกเว้นตาม ข้อ 108 ก็ควรตัดออก เพราะถือเป็นการยกเว้นข้อ 87 ในการนำร่างกฏหมายมารวมพิจารณา เพราะตามข้อเท็จจริง แม้จะมีการยื่นร่าง กฏหมายประกบ ร่วมพิจารณาเข้าสู่สภาฯ ก็ยังสามารถใช้ร่างของ ครม.เป็นร่างหลักได้อยู่แล้ว แต่การตัดสิทธิไม่ให้ส.ส.มีส่วนร่วมในการเสนอกฏหมายประกบเลย ถือเป็นการขัดหลักการรัฐธรรมนูญ และขาดเหตุผลในการห้ามส.ส.มีส่วนร่วมในฐานะตัวแทนของประชาชนด้วย โดยที่ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดห้ามไว้เลย ทั้งนี้พรุ่งนี้ (20ก.ค.)จะนำเข้าแจ้งหารือในการประชุมวิปรัฐบาล และในวันที่ 24 กค.นี้ ตนจะอภิปรายในการประชุมร่วมรัฐสภา

Let's block ads! (Why?)



"มีส่วนร่วม" - Google News
July 19, 2020 at 10:17AM
https://ift.tt/39aZHeV

'นิกร'โวย กมธ.ร่างข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ตัดอำนาจส.ส. เข้าชื่อเสนอร่างกม.ปฏิรูป - สยามรัฐ
"มีส่วนร่วม" - Google News
https://ift.tt/3eCA8Vu

No comments:

Post a Comment