Pages

Thursday, October 1, 2020

เราจัดเที่ยวด้วยกัน | ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ - กรุงเทพธุรกิจ

biasaajadongkeles.blogspot.com

ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์

ดูบทความทั้งหมด

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2 ตุลาคม 2563

15

เกาะกระแส “เราเที่ยวด้วยกัน” ขอชวนมามองโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อรองรับลูกค้าคนไทยเที่ยวท้องถิ่นไทย

โดยเฉพาะการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ชุมชน มีอีกปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน ยิ่งถ้าเป็นผู้ประกอบการเข้าไปทำงานยิ่งต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้เพื่อลดข้อขัดแย้งและสร้างความร่วมมือในการพัฒนายกระดับไปด้วยกันแบบองค์รวม

สำหรับหลักการสำคัญในการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมขอหยิบยกแนวคิด Participatory Guarantee Systems ที่เป็นแนวทางใช้กันในการจัดการเกษตรอินทรีย์ในระดับท้องถิ่นและชุมชนมาอ้างอิงเป็นข้อเสนอแนะ แนวคิดนี้ประกอบไปด้วย 6 หลักการสำคัญ ได้แก่

1 การมีวิสัยทัศน์ร่วม หรือ Shared Vision ได้แก่การเชิญชวนให้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายในชุมชนได้มาทำความรู้จักกันผ่านเวทีการประชุมง่ายๆ โดยเริ่มจากการชวนมากำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันในการขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่ สำหรับกรณีการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน แม้โดยภาพรวมแล้วจะเป็นโอกาสการสร้างรายได้เข้ามาสู่พื้นที่รวมไปถึงการสร้างงาน แต่ก็ต้องไม่รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรในชุมชน เพื่อให้ส่งผลประโยชน์กับหลายภาคส่วน จึงควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับพื้นที่ในหลายมิติมากกว่าเรื่องเศรษฐกิจแต่ครอบคลุมถึงความยั่งยืนของสังคมสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่เข้ามาดำเนินงาน มีบทบาทเป็นสมาชิกของชุมชนด้วย 

2 ความเชื่อมั่นต่อกันหรือ Trust นับเป็นหัวใจสำคัญของการมาทำความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อมั่นในเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันว่าจะนำไปสู่ความยั่งยืน ความเชื่อมั่นในการทำงานและจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม สำหรับภาคธุรกิจที่ทำงานในชุมชน อาจประสบแรงเสียดทานตอนต้นจากความรู้สึกไม่เชื่อมั่นไว้วางใจ เกรงว่าจะเป็นการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์เพียงผ่ายเดียว จึงต้องให้ความใส่ใจกับประเด็นนี้ให้มาก โดยหนทางสร้างความเชื่อมั่นได้แก่ การมีการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่การวางแผน การดำเนินการ และการประเมินผล โดยในแต่ละขั้นตอนต้องเพิ่มเปิดเผยข้อมูลสามารถตรวจสอบได้ รวมไปถึงการสื่อสารให้เป็นที่รับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 

3 การมีส่วนร่วมหรือ Participation ได้แก่การส่งเสริมให้คนที่อยู่ในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อแผนการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการติดตามผล ทั้งนี้สามารถทำได้ด้วยใจที่เปิดกว้างและเป็นกลาง สิ่งใดที่เป็นข้อควรปรับปรุงและได้ให้ความคิดเห็นกันไว้ ก็ควรรับฟังและพร้อมนำไปพิจารณาปรับใช้ โดยมีการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการรับรู้และความเข้าใจ สำหรับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนควรเปิดโอกาสเชิญชวนให้คนในพื้นที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมเพื่อสัมผัสตรงจากประสบการณ์ แม้ในบางกรณีอาจมีความขัดแย้งจากกลุ่มที่มีความต่างทางผลประโยชน์แต่การสร้างการมีส่วนร่วมของคนหลากหลายในชุมชนจะเป็นเครื่องมือช่วยสร้างสมดุลจากความหลากหลาย ไม่กระจุกตัวกับแนวคิดอิทธิพลของคนหรือกลุ่มคนใดเท่านั้น ที่สำคัญเมื่อมีการสร้างข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาชุมชน ต้องมีการร่วมรักษาจุดยืนที่มั่นคงเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นต่อไป

4 กระบวนการเรียนรู้หรือ Learning Process ฐานการสร้างการมีส่วนร่วมที่ดีมาจากการสร้างเป้าหมายเพื่อไปสู่การเรียนรู้ เพราะจะทำให้เกิดการเปิดใจพร้อมรับความไม่สมบูรณ์ อันเป็นหนทางของการค้นพบอะไรใหม่ๆ สำหรับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน มีประเด็นเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะเป็นการทำงานกับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆที่มีความแตกต่างหลากหลาย ในการทำงานจึงควรมุ่งให้เกิดการแบ่งปันข้อสังเกตและประสบการณ์ของคนในชุมชน บทเรียนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความสำเร็จและความล้มเหลว โดยต้องยอมรับความเห็นต่าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากมุมมองใหม่ๆ เมื่อทดลองดำเนินงานแล้วก็มีการสรุปสังเคราะห์ข้อคิดนำไปปรับใช้ต่อ และสามารถถ่ายแลกเปลี่ยนกับคนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่รวมไปถึงการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่สนใจต่างๆ

5 ความสัมพันธ์แนวราบหรือ Horizontality หมายถึงการที่ทุกภาคส่วนมีสิทธิเท่าเทียมกันและมีความร่วมรับผิดชอบต่อการขับเคลื่อนดำเนินงานในพื้นที่ชุมชน สำหรับธุรกิจที่เข้าไปทำงานในชุมชนควรสร้างความรู้สึกถึงการที่ทุกคนล้วนเป็นสมาชิกที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับท้องถิ่นได้ แม้จะมีความต่างกันในบทบาทหน้าที่หรือกำลังทรัพยากรแต่เมื่อมีกรณีที่ต้องตัดสินใจ ทุกคนก็มีสิทธิ์ออกเสียงอย่างเสมอภาคตามข้อตกลงร่วมกันได้ และในการทำงานร่วมกันให้มีการหมุนเวียนบทบาทความรับผิดชอบ และส่งเสริมการประสานความสัมพันธ์อย่างทั่วถึงทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

6. ความโปร่งใส Transparency ในการดำเนินงานยังต้องแสดงให้เห็นถึงระบบการทำงานจากการ บันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และพร้อมเปิดเผยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน มีข้อมูลบางส่วนเช่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ที่ควรเปิดเผย เช่นจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเดินป่า ดำน้ำดูปะการัง รวมไปถึงข้อมูลกระบวนการทำงาน ข้อมูลการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นข้อตกลงต่างๆ โดยสามารถสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางที่ปัจจุบันทำได้ง่ายๆ ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ นอกจากนั้นยังควรมีการจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้เข้ามาเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงาน ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและตัดสินใจกับการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบกับชุมชน

เราจัดเที่ยวด้วยกันแล้วก็จัดการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกันด้วย จึงจะเป็นหนทางที่ยั่งยืน

ดูบทความทั้งหมดของ ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์

Let's block ads! (Why?)



"มีส่วนร่วม" - Google News
October 02, 2020 at 09:05AM
https://ift.tt/2GqdhRm

เราจัดเที่ยวด้วยกัน | ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ - กรุงเทพธุรกิจ
"มีส่วนร่วม" - Google News
https://ift.tt/3eCA8Vu

No comments:

Post a Comment