Pages

Saturday, August 8, 2020

'กมธ.พัฒนาการเมือง'ชวนปชช.มีส่วนร่วม สร้างบรรยากาศประชาธิปไตย - มติชน

biasaajadongkeles.blogspot.com

‘กมธ.พัฒนาการเมือง’ ชวน ปชช.มีส่วนร่วม สร้างบรรยากาศประชาธิปไตย

‘กมธ.พัฒนาการเมือง’ จัดอบรมอาสาเฝ้าหน่วยฯ ชวนปชช.มีส่วนร่วมการเมือง-สร้างบรรยากาศประชาธิปไตย เล็งขยายเครือข่ายให้พร้อมก่อนเลือกตั้งสนามใหญ่

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 8 สิงหาคม ที่โรงแรมมิราเคิล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน การมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ‘โครงการนำร่อง (Pilot Project) การใช้ Parallel Vote Tabulation (PVT) สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสังเกตการณ์เลือกตั้งแบบคู่ขนาน’

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ. การพัฒนาการเมือง ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดงานในครั้งนี้ ว่า กิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในครั้งนี้ เป็นแค่หนึ่งโครงการในการแก้ปัญหาเรื่องการเลือกตั้งทั้งหมด ที่มีอยู่ 4 ด้าน คือ 1.ด้านกฎหมาย 2.การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 3.การมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4.ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่และการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถนำมาทำได้เลยตอนนี้

การทุจริตการเลือกตั้งมีอยู่หลายมิติ ทั้งที่เกิดขึ้นก่อนลงคะแนน ระหว่างลงคะแนน และหลังลงคะแนน แม้การให้ประชาชนมีส่วนร่วมจับตาการเลือกตั้งจะไม่สามารถแก้ไขการทุจริตทางระบบได้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เกิด Accountability คือจำนวนคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง คะแนนที่รายงาน และการรายงานผลคะแนนแบบเรียลไทม์ของภาคประชาชน จะทำให้เกิดความแม่นยำของคะแนนมากขึ้น เพื่อใช้เปรียบเทียบกับการรายงานผลคะแนนจาก กกต.

ผู้สื่อข่าวถามว่า โครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการนับคะแนนผิดพลาดใช่หรือไม่ นายปดิพัทธ์กล่าวว่า อย่างน้อยที่สุดก็จะมีผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งที่มีความรู้เพิ่มขึ้น เพราะประเทศที่สามารถปฏิรูปและป้องกันการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสได้ สิ่งที่ต้องทำคือประชาชนจะต้องตื่นตัว มีความรู้ และเครื่องมือมากขึ้น ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ว่าจุดเริ่มต้นแรกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จึงเป็นที่มาของโครงการนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกเฝ้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งซ่อมเขต 5 จ.สมุทรปราการ มีนัยยะอะไรหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่มีนัยยะใดๆ ทั้งสิ้นเพราะโครงการนี้เราตั้งใจจะทำเป็นโครงการระยะยาว ซึ่งโครงการในรูปแบบนี้ถูกนำไปใช้ใน 50 ประเทศทั่วโลก โดยมีองค์กร National Democratic Institute (NDI) คอยสนับสนุนด้านข้อมูลและความรู้ ซึ่งเราจะต้องนำมาปรับรูปแบบให้เข้ากับบริบทของไทยด้วย และเราคาดหวังว่าอยากจะขยายขอบเขตการทำงานให้ทั่วถึงทั้งประเทศ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่เพียงแค่แสดงออกผ่านการออกไปชุมนุมแต่ทุกคนสามารถสมัครเป็นอาสาสมัครเพื่อสังเกตการณ์เลือกตั้งได้ ซึ่งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านประชาธิปไตยในหลายประเทศทั่วโลกแล้ว ทั้งนี้เป้าหมายของเราคือการเลือกตั้งใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นในอีก 2 ปี 8 เดือนข้างหน้า สิ่งที่เกิดขึ้นจะช่วยสร้างบรรยากาศทางประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกตั้งซ่อมที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (9 สิงหาคม) จะถูกมองเรื่องความเป็นกลางหรือไม่ นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเลือกตั้งทั้งหมดจะต้องมารวมกัน เพราะทุกพรรคการเมืองควรหวงแหนคะแนนของตัวเอง ประชาชนควรหวงแหนคะแนน และ กกต. ก็ควรหวงแหนคะแนนว่า จะทำอย่างไรให้คะแนนถูกต้อง คือทุกพรรคการเมืองควรจะมาร่วมกัน แต่ว่าในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้ จึงยากต่อทำความเข้าใจหรือประสานงาน ตนมีหน้าที่เพียงอำนวยการให้เกิดโครงการนี้ขึ้นเจตนาไม่ใช่เพื่อให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งได้เปรียบ ทุกพรรคการเมืองจะได้รับการปกป้องคะแนน ซึ่งความจริงคือคะแนนของประชาชนที่โหวตให้พรรคการเมืองนั้นๆ

ด้านนายพริษฐ์ วัชรสินธุ กลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า (CONLAB) กล่าวว่า หน้าที่หลักของตนคือการออกแบบเรื่องการเก็บข้อมูลของหน่วยเลือกตั้ง อาสาสมัครเฝ้าสังเกตการณ์ในหน่วยเลือกตั้ง จะต้องเก็บข้อมูลอะไร และข้อมูลเหล่านั้นบ่งบอกถึงความไม่โปร่งใสอะไร ซึ่งจะแบ่งประเภทข้อมูลได้ 2 ประเภทคือ 1.ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยอาสาสมัครประจำหน่วยสามารถส่งข้อมูลกลับมาหาเราได้เร็วที่สุดว่าคะแนนในหน่วยเลือกตั้งมีเท่าไหร่ และผู้สมัครแต่ละเบอร์ได้คะแนนเท่าไหร่ในหน่วยเลือกตั้งนั้น วัตถุประสงค์ที่ตั้งคือ 1.) เวลาเราสุ่มหน่วยเลือกตั้งแล้วนำเอาคะแนนหน่วยเลือกตั้งนั้นมาบวกรวมกัน เพื่อสามารถนำคะแนนมาคาดการณ์ได้ ว่าคะแนนในภาพรวมของเขตเลือกตั้งนั้นจะมีประมาณเท่าไหร่ หากเราส่งอาสาเฝ้าหน่วยเลือกตั้งจำนวนเยอะขึ้น ความมั่นใจก็จะมีสูงขึ้นว่าหน่วยเลือกตั้งที่เราไปเลือกสุ่มสามารถสะท้อนคะแนนในภาพรวมได้ และ 2.) หากเรามองโลกในแง่ร้ายมากที่สุด สมมุติว่าผลการเลือกตั้งจากหน่วยที่เราเลือกไปสังเกตการณ์ไปบ่งบอกว่าพรรคหนึ่งจะได้รับชัยชนะ แต่เมื่อไปเปรียบเทียบกับผลคะแนนของหน่วยที่เราไม่ได้ไปสังเกตการณ์ผลพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ก็จะทำให้เราเริ่มตั้งคำถามได้ว่า การที่เราไปสังเกตการณ์เป็นการป้องกันการทุจริตได้หรือไม่ จึงทำให้ผลสถิติของหน่วยเลือกตั้งที่เราไปสังเกตการณ์มีความแตกต่างมากจากผลเลือกตั้งที่เราไม่ได้ไปสังเกตการณ์

2.ข้อมูลเชิงคุณภาพ หมายความว่าไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไรเรามั่นใจมากน้อยเพียงไรว่าเจ้าหน้าที่ที่บริหารจัดการเลือกตั้งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น เปิดหน่วยเลือกตั้งตรงเวลาหรือไม่ระหว่างการเลือกตั้ง มีการประชาสัมพันธ์ชักจูงให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงไปเลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือมีการซื้อเสียงเกิดขึ้นในบริเวณหน่วยเลือกตั้งหรือไม่ นอกจากนี้ในกระบวนการที่ใช้นับคะแนนเป็นไปตามหลักการหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงหรือไม่ เช่น บัตรเลือกตั้งกาเบอร์ 3 แต่ขานคะแนนเบอร์ 4 หรือจำนวนบัตรเลือกตั้งที่จัดสรรไป ไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ถูกใช้จริง ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า บัตรเขย่ง ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถบอกเราได้อย่างรวดเร็ว

Let's block ads! (Why?)



"มีส่วนร่วม" - Google News
August 08, 2020 at 02:54PM
https://ift.tt/2DnNBDZ

'กมธ.พัฒนาการเมือง'ชวนปชช.มีส่วนร่วม สร้างบรรยากาศประชาธิปไตย - มติชน
"มีส่วนร่วม" - Google News
https://ift.tt/3eCA8Vu

No comments:

Post a Comment